เราเห็น "ดาวเหนือเจ็ดดวง" เด่นท่ามกลางดวงดาวอื่น ๆ เราแปลกใจมากที่เห็นว่า ดาวเหนือ 7 ดวงนั้นมันลอยต่ำกว่าดาวดวงอื่น ๆ และดาวทั้งหมดที่เราเห็นนั้นออกเป็นสีเหลืองทอง เราแหงนหน้ามองอยู่นานจนเมื่อยคอ เราจึงดึงตัวกลับแล้วนอนลง จากนั้นเราก็ลืมเหตุการณ์ในคืนวันนั้นไปเลย
หลังจากนั้นก็มีเหตุให้เราระลึกถึงคืนวันนั้นได้ หลังจากที่เราลงมากรุงเทพฯได้ระยะหนึ่ง รวมทั้งการรับรู้เรื่องราว จึงทำให้เราจำได้ไม่ลืมเลือน และตั้งใจว่าเมื่อได้กลับไปลำปางจะต้องดูดาวอีกให้หายสงสัย
ถัดมาเมื่อมีโอกาสได้กลับไปที่ลำปาง เราจึงตั้งใจเต็มที่ที่จะดูให้รู้ชัด และประจวบเหมาะที่เราบังเอิญกลับไปในช่วงข้างแรมพอดี ท้องฟ้าโปร่งไม่มีเมฆ ท้องฟ้ามืดสนิท เราจึงดูดาวบนท้องฟ้าด้วยความอยากรู้
ดาวบนท้องฟ้าระยิบระยับละลานตาไปหมด ไม่มีทางที่จะเห็นเป็นรูปแบบอย่างที่เราเห็นในวันนั้น เราแหงนหน้ามองจนเมื่อยคอ และมองอยู่หลายรอบ ก็เลยเลิกเพราะใช้เวลานานแล้วก็ไม่สามารถมองเห็นเป็นอย่างที่เคยเห็นได้
หลังจากนั้นเราได้กลับลำปางอีก 2-3 ครั้ง และทุกครั้งเราก็จะแหงนหน้าดูดาวบนท้องฟ้า เพื่อจะให้เห็นเป็นดังที่เคยเห็น แต่ก็เหมือนเดิมทุกครั้ง ดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้า มันละลานตาไปหมด ไม่สามารถมองเห็นเป็นอย่างที่เคยเห็นได้
ดาวเหนือ (Polaris หรือ North Star) เป็นดาวที่อยู่ในตำแหน่งหางของกลุ่มดาว (Constellation) หมีเล็ก (Ursa Minor) แต่ทางจีน ญี่ปุ่น เรียกกลุ่มดาวนี้ว่า "เจ็ดดาวเหนือ"
ดาวเหนือ (ตะวันตก) เป็นดาวที่มีตำแหน่งคงที่ในท้องฟ้า สมัยโบราณจึงใช้เป็นเข็มทิศในการเดินทางในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะมองไปในท้องฟ้าแล้วก็จะเห็นได้เลย จะต้องรู้วิธีในการหาตำแหน่งของดาวเหนือ (คลิกลิงค์นี้ แล้วใช้เม้าส์ชี้ที่รูป) นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นเหมือนที่เคยเห็นได้เลย
จากรูปโลโก้ของ Blog นี้ ถ้าผู้สร้างรูปนี้ไม่ได้ทำให้เห็นว่ามีรัศมีเรืองรอบดวงดาว ก็คงยากที่จะมองเห็นรูปแบบของ 2 กลุ่มดาว คือ ดาวหมีเล็ก ที่อยู่ข้างบน และ ดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) ที่อยู่ด้านล่าง
นี่คือสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา รวมถึงการใช้กล้องดูดาว ตลอดจนรูปแผนผังของกลุ่มดาว
แต่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดและมหัศจรรย์ ก็คือ หลังจากนั้น เรามีโอกาสได้พบชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมาทำธุรกิจในประเทศไทย เราจึงถามเรื่องที่เราได้รับรู้ ชาวจีนคนนั้นก็ใช้ปากกาเขียนรูปแบบหรือแผนผัง "เจ็ดดาวเหนือ" ให้เราดู ปรากฎว่า มันไม่เหมือนรูปโลโก้ของบล็อคนี้รวมถึงรูปถ่ายขององค์การ NASA ดังรูปข้างบน แต่มันเหมือนกับที่เราเห็น ดังรูปข้างล่างนี้ ซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคกลับด้าน นั่นคือ การที่จะเห็นแผนผังแบบนี้ได้ ก็ต้องดูเงาในกระจกเงาหรือในน้ำเท่านั้น ในสมัยโบราณ
*โปรดติดตามเรื่องต่อไป
No comments:
Post a Comment